Nginx

Posted In: , . By taladnam

nginx [engine x] เว็บเซิร์ฟเวอร์เชื้อสายรัสเซีย ที่พัฒนาโดย Igor Sysoev

จากการ search วันนี้บังเอิญไปอ่านเจอที่ http://www.hitoridake.com บอกว่า

หลังจากใช้งาน Nginx อยู่นาน รู้สึกประทับใจในประสิทธิภาพของมัน โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ที่สามารถทำงานได้เร็วกว่า Apache หรือแม้แต่ Lighttpd มาก ด้วยการใช้งานทรัพยากรภายในเครื่องที่ต่ำกว่าอย่างน่าตกใจ


เป็นไปได้ว่าจะเป็นจริงตามข้อความข้างบน โดยเฉพาะข้อมูลสนับสนุนจาก Google Online Security Blog และ Netcraft

คงต้องจัดเวลา ลองทดสอบดูซะหน่อยแล้ว

ที่มา: http://www.hitoridake.com, http://nginx.net

 

Bind8 EOL

Posted In: , . By taladnam

Internet Systems Consortium, Inc. (ISC) ประกาศว่าวันที่ 27 สิงหาคม ปีนี้ (2007) BIND8 End Of Life

ผมเป็นคนหนึ่งที่คลุกฝุ่นกับ BIND มานาน แม้กระทั่งทุกวันนี้

BIND 8 End Of Life Announcement

ISC is announcing BIND 8 to be End of Life as of today, 27 August 2007.

ISC strongly encourages users who depend on BIND 8 to migrate to BIND 9 as soon as possible.

It's never easy to retire a product. The security issues of BIND 8 are many, and 7 years after the release of BIND 9, ISC must devote our efforts to maintaining and enhancing the current version. BIND 9 was always intended as a replacement for BIND 8, thus there are no more BIND 8 releases planned beyond 8.4.7-P1, being released today.



ที่มา: http://www.isc.org

 

Unix : Whole Life Learning

Posted In: . By taladnam

พี่คนที่แนะนำให้ผมรู้จักกับ Unix เคยบอกว่า "Unix เป็นอะไรที่ เรียนรู้ตลอดชีวิต..ก็ไม่มีวันจบ"
ความรู้สึกของผมตอนนั้นคือ มันคงเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากๆ ในโลกของคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ Windows 3.1 ที่เราใช้อยู่ทุกวัน

ถึงวันนี้ ผ่านมา 10 ปีแล้ว ผมยังคงเห็นด้วยกับคำพูดนั้น แต่ Windows ก็ไม่ใช่อะไรที่จะเรียนรู้ได้จบเหมือนกัน (สำหรับผม)

วันนี้บังเอิญไปเจอ blog ที่ ITtoolbox มีฝรั่งที่เป็น System Admin คนหนึ่ง แนะนำเว็บไซต์ Unix History
ตามไปดูประวัติศาสตร์ น่าสนใจและชวนติดตาม โดยเฉพาะสำหรับคนที่ยังต้องสัมผัส และใช้งาน Unix อยู่ทุกวัน



Unix ตัวแรกที่ผม(จำเป็นต้อง)จับ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น SunOS

ภาพประกอบ|ที่มา: http://blogs.ittoolbox.com, http://www.levenez.com/unix/

ปล. Business Dependency Modelling เป็นอีก Blog ที่น่าสนใจมาก ติดอันดับ Superstar ของ ITtoolbox ทีเดียว

 

NetFlow Security Tools

Posted In: , , . By taladnam

ก่อนหน้านี้พยายามจะจับ network attack จาก netflow ด้วย nfdump พอได้ลองแล้วมันไม่ค่อยทันการณ์ ด้วยความที่คนทำงานไม่เชี่ยวชาญ เกิดอาการรู้ตัวช้า จน user บ่น ก่น ด่ามาซะก่อน

เมื่อวานเจอ tool น่าสนใจ 2 ตัว เพราะเป็น GUI น่าจะช่วยให้คนทำงานง่ายขึ้น (แต่ยังไม่ได้ลอง)


ตามไป download กันได้ (ตัว VisFlowConnect-IP อยู่ในไฟล์ old-stuff.tbz)

 

เป็นแฟนประจำบล็อก BioLawCom.de คนหนึ่ง แต่เพิ่งได้เข้าไปอ่าน profile ก็วันนี้ ทำให้ถึงบางอ้อว่า ทำไมถึงได้เชี่ยวชาญลึกซึ้ง และหลากหลายได้ขนาดนั้น ขอบคุณมากครับ สำหรับความรู้ที่แบ่งปัน

ช่วงนี้กระแส พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ กำลังแรง และเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานที่ทำ ทำให้ต้องเข้าไปอ่านบทความนี้เลย


ที่มา: http://BioLawCom.de

 

หลังจากที่ setup และปล่อยให้มันทำงานมานานปีกว่าแล้ว (และโชคดีนะที่มันยังทำงานเป็นปกติสุข) วันนี้เป็นครั้งแรกที่เจ้า BackupPC ช่วยชีวิตพวกเราเอาไว้ ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติของคนทำงาน แต่การสำรองข้อมูลเอาไว้ยามฉุกเฉินเป็นเรื่องสำคัญที่สุด สำหรับผู้ดูแลระบบและข้อมูลทั้งหลาย


BackupPC is a high-performance, enterprise-grade system for backing up Linux, WinXX and MacOSX PCs and laptops to a server's disk.

 

ใครที่ใช้ BIND เป็น Domain Name Server (DNS) น่าจะเข้าใจเนื้อหานี้

Name Server (NS) ที่เป็นทั้ง Authoritative NS และ Caching NS ถ้าต้องการอนุญาตเฉพาะกลุ่ม ip address ที่กำหนด query แบบ recursive ได้ สำหรับ BIND เวอร์ชั่นก่อน 9.4 ต้องทำแบบตัวอย่างข้างล่างนี้ สิ่งที่ยุ่งยากสำหรับผู้ดูแลระบบ คือ ต้องใส่ allow-query { any; }; ในทุก zone แล้วถ้ามี zone เยอะมากๆ ล่ะ (เช่น เป็นผู้ให้บริการ hosting)

acl trusted { 192.168.1.0/24; };

options {
allow-query { trusted; };
allow-resursion { trusted; };
};

zone "mycompany.com" {
allow query { any; };
...
};

สำหรับ BIND ตั้งแต่เวอร์ชั่น 9.4 เป็นต้นมา สามารถใช้ allow-query-cache เข้ามาช่วย เพื่อลดความยุ่งยากดังกล่าว (ต้องใส่ allow-query { any; }; ในทุก zone) ได้ ตามตัวอย่างข้างล่าง

acl trusted { 192.168.1.0/24; };

options {
allow-query { any; };
allow-query-cache { trusted; };
allow-resursion { trusted; };
};

zone "mycompany.com" {
...
};

อ้างอิงจาก: http://www.isc.org

 

Centralized Log Server

Posted In: , . By taladnam

อาจารย์ปริญญา หอมเอนก เคยแนะนำในงานสัมนางานหนึ่งว่า องค์กร(ที่เข้าข่ายเป็นผู้ให้บริการ) ควรจะจัดหา centralized log server เพื่อจัดเก็บข้อมูลจราจร ตาม พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดีกว่าแยกเก็บตาม server แต่ละตัว ผมเองก็เห็นด้วยครับ

เหมือนเดิม คือ เจออะไรก็มาเก็บไว้ที่นี่ก่อน แล้วค่อยมาไล่ดูไล่ทำกันไป (ที่ผ่านมา ก็ยังค้างคาอยู่อีกเยอะ)

  • SNARE EventLog Agent for Windows
  • Kiwi Syslog Daemon for Windows
  • Project Lasso is Windows-based open source software designed to collect Windows event logs, including custom application logs, and provide central collection and transport of Windows log data via TCP syslog to any syslog-NG compatible log receivers.

ปล. ก่อนปิดเครื่องวันนี้ ไปเจอรวม links ของ Internet Traffic Generator

 

กำลังตัดสินใจเลือก Content Management System (CMS) มาใช้งานซักตัว จะเลือก Drupal หรือ Joomla หรือ TYPO3 หรือ XOOPS ดีนะ?

จริงๆ ทั้งสี่ตัวข้างต้น สามารถรองรับความต้องการของงานได้หมด Drupal นั้นได้รับการกล่าวขวัญในวงการ developer ค่อนข้างมาก เช่นกัน Joomla ก็มาที่หนึ่งในใจ user ส่วน XOOPS เองที่ cmsthailand.com ใช้(หรือเคยใช้)อยู่ ก็น่าจะมีดีพอสมควร แต่ส่วนตัวกลับอยากใช้ TYPO3 แบบไม่มีเหตุผล ประมาณว่าเห็นแล้วปิ๊ง เลยลองหาข้อมูลเปรียบเทียบมาดูกันหน่อย

ไปที่ CMS Matrix เลยครับ เมื่อเลือกแล้วกด compare ได้ผลออกมาเป็นตารางเปรียบเทียบ และทั้งๆ ที่มีหลายข้อ ผมไม่รู้ความหมายที่แท้จริง แต่ผลก็ออกมาได้ใจผมมาก ช่วยสนับสนุนให้ใช้ TYPO3 ครับ

อัพเดต: links ที่เกี่ยวข้องกับ TYPO3 น่าสนใจ

อัพเดตล่า:
  • หลังจากพยายามติดตั้งมา 4-5 ครั้ง บน 3 เครื่อง 2 แพลตฟอร์ม ได้ผลเหมือนกันคือ ไม่สำเร็จ อาการเดียวกันทั้งหมด คือ ไม่สามารถ create mysql database ได้ ค้างเติ่งอยู่ในคิวมาหลายสัปดาห์แล้ว วันนี้บังเอิญไปเจอ ความรู้สึกจากการใช้ Typo3 ของคุณ bow_der_kleine ประเด็นที่ต้องเก็บมาพิจารณาอย่างหนัก ก็คือ เรื่องภาษาไทย