Where are DNS Root Servers?
มี I.ROOT-SERVERS.NET ตั้งอยู่ที่ กสท โทรคมนาคม ประเทศไทย ด้วยนะครับ
ที่มา: stupid.domain.name ผ่าน circleid.com
มี I.ROOT-SERVERS.NET ตั้งอยู่ที่ กสท โทรคมนาคม ประเทศไทย ด้วยนะครับ
ที่มา: stupid.domain.name ผ่าน circleid.com
วันนี้ช่วงบ่าย มีโอกาสได้เข้าร่วม "รับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับ Next Generation Network" ที่สำนักงาน กทช. โดยที่ไม่มีความรู้เชิงลึกทางเทคนิคซักเท่าไหร่ เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็น ก็ไม่มีรายละเอียดมากมายนัก รวมทั้งร่างประกาศฉบับเต็มก็ไม่ได้แจก
เจ้าภาพคือ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำมาตรฐานทางเทคนิค สำหรับ Next Generation Network (NGN) ประเด็นประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ครอบคลุมเพียงแค่ส่วนหนึ่ง คือ เรื่อง Standard and Interoperability จากทั้งหมด 5 ประเด็น ที่เหลืออีก 4 คือ Licensing, Numbering, Interconnection และ Universal Service
แถมคณะอนุกรรมการฯ ยังบอกอีกว่า เป็นแค่ framework ไม่ได้ลงรายละเอียด เนื่องจากว่ามีข้อจำกัดคือ เวลาทำงานเพียงแค่ 90 วัน (ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เมื่อมันยังไม่ลง detail อย่างนี้ แล้วรีบร่างประกาศทำไม) มีแนวความคิด เรื่องรายละเอียดของ Standard และ Protocol ว่า น่าจะเกิดจาก Forum ของผู้ผลิตและผู้ให้บริการ เช่นเดียวกับในต่างประเทศ
บรรยากาศในวันนี้ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ ที่สังเกตุเห็นคือ ยังใหม่และไม่คุ้นเคยกับเรื่อง NGN ซักเท่าไหร่ รวมทั้งผมด้วย เลยไม่เกิดความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ คัดค้าน หรือสนับสนุนอะไรมากนัก (ตามสไตล์คนไทย) -- ผมมองว่าเป็นเพียงแค่การแสดง Progress ของคณะอนุกรรมการฯ ต่อคณะกรรมการ กทช. มากกว่า (ประชาพิจารณ์ถูกกำหนดเป็นหนึ่งในขั้นตอนการทำงาน แต่ไม่ระบุว่ารายละเอียดต้องขนาดไหน)
กลับมาที่ หัวข้อที่เป็นประเด็นรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อ มี 4 ข้อ คือ
เรื่อง Art/Graphics เช่น การตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Photoshop ไม่เคยอยู่ในความคิดเลยว่า จะทำเป็นจริงเป็นจัง พอสนุกๆ แก้เบื่อก็พอไหว หรือเมื่อจำเป็นต้องใช้ทำงานบางอย่าง ที่ว่าวานคนอื่นไม่ได้ (เกรงใจ) ได้งานมาก็ 1 สัปดาห์เต็มๆ แล้ว วันนี้เพิ่งได้เริ่มหัดใช้
เพราะว่าติดต่อไม่ได้ ช่องทางไม่มี ฝากเตือน SysAdmin ทั้งหลายว่า
อย่าหลงไปอ้างอิง ip address blocklist ของ APEWS.ORG นะครับ
Published: 2007-07-25,
Last Updated: 2007-07-25 17:15:20 UTC
by Kevin Liston (Version: 1)Please pardon the interruption. If you manage the APEWS list, please contact us.
just a few more details. APEWS appears to use our "top sources" list http://isc.incidents.org/ipsascii.html as a blocklist. This list is an unfiltered list of sources for which we received a lot of reports. It is not supposed to be used as a blocklist as it is bound to include false positives. In addition, APEWS turns these /32 listings into /17 blocks, and they appear to violate our "Creative Commons Share-Alike License". Sadly, all other attempts to contact them have failed.
APEWS may be a useful "anti-spam" list if you do not mind losing a lot of valid e-mail as well. For example, right now, it appears to block the entire AT&T network.
โทรศัพท์มือถือส่วนตัว ผมเพิ่งใช้มา 4 เครื่อง เวลาผ่านมาประมาณ 10 ปี เรียงตามลำดับตามนี้เลย
Nokia 5110 --> Nokia 3330 --> Siemens S45 --> Palm Treo 600
การใช้งาน -- Nokia 3330
รูปร่าง หน้าตา -- Siemens S45
อรรถประโยชน์ -- Palm Treo 600 เครื่องปัจจุบัน
ภูมิใจ -- Nokia 5110 เครื่องแรก
เครื่องต่อไปถ้าตาม concept "ลดรายละเอียดในชีวิต" ของผม ต้องจอ monochrome โทรเข้า/ออก ได้พอแล้ว
เป็น Presentation แรก ที่ทำให้ผมรู้จัก Slideshare ชวนให้ฉุกคิดดีเหมือนกัน แม้ส่วนตัว ผมจะไม่ได้เก็บอะไรสำคัญๆ (สำหรับคนที่ผมรัก) ไว้ที่ฟรีอีเมลเลย แต่มันสามารถบอกเล่าเรื่องราวส่วนหนึ่ง ซึ่งแสดงความเป็นตัวตนของผมได้มากทีเดียว -- ถ้าผมตายไป พ่อ แม่ ลูก เมีย คงไม่มีใครไปตามค้นของผมหรอก
ปัญหาของการใช้ E-mail ขององค์กรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ จะจัดการกับ Spam Mail ที่มากขึ้นทุกวัน อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร แน่นอนว่าในตลาดมี Box สำเร็จเก่งๆ สำหรับการนี้ มีทั้ง Anti-Virus, Anti-Spam รวมทั้งความสามารถอื่นๆ อีกมากมาย ปัญหาอยู่ที่ราคา ซึ่งสำหรับองค์กรเล็กๆ เช่น SME คงลงทุนไม่ไหวแน่
น่าจะเป็นไปได้ ถ้าองค์กรเล็กๆ ซึ่งมี Mail Server ภายใน เครื่องไม่ใหญ่โตอะไร รองรับ User ไม่กี่สิบคน จะมาใช้ Gmail Engine เป็นตัวช่วยกรอง Spam Mail โดยใช้บริการฟรี คือ Google Apps ที่เป็น Standard Edition
เพราะ Google ให้เราสร้าง Catch-all account ได้ Catch-all account ก็คือ มี E-mail ส่งมาที่ใครก็ตามภายใต้ domain นี้ ให้มากองไว้ที่ mailbox ของ Catch-all จากนั้นเราใช้ Mail Server ภายในของเรา ซึ่งต้องมีความสามารถไปอ่าน (retrieve & delete) mail ทั้งก้อนจาก Catch-all account มาไว้ที่ตัวเอง แล้วค่อยกระจายให้ local user ในเครื่องอีกต่อหนึ่ง
ข้อจำกัดมีอยู่ว่าของฟรี(ไม่มีในโลก) คือ Standard Edition จะมี disk quota ให้แต่ละ user account แค่ 2 GB เท่านั้น (น่าจะเพียงพอสำหรับองค์กรเล็กๆ) ต้องการ disk quota มากกว่านี้ ก็เปลี่ยนไปใช้ Premier Edition ซึ่งจะได้ disk quota ของแต่ละ user account เป็น 10GB แต่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 50 US dollar ต่อ user account ต่อปี และจะได้อย่างอื่นอีกมากมาย นอกเหนือจากเรื่อง disk quota
ตัวอย่าง Mail Server/Software ที่ใช้สำหรับ retrieve mail จาก Catch-all account
คิดต่อยอดจากข่าว (ที่จริงผ่านตามาก่อนหน้านี้แล้วล่ะ แต่ไม่ได้คิดต่อ)
แนวทางที่เป็นธรรมสำหรับทั้งผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ใช้บริการ (User) รวมทั้งผู้ให้บริการ Application บนอินเทอร์เน็ต ควรมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องนำมาพิจารณา
เป็นเพราะ พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทำให้ชีวิตของคนเป็น system admin ยุ่งยากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเก็บข้อมูลจราจร (log file) ย้อนหลัง 90 วัน ซึ่งระบบทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางบัญชี การเงิน มักจะเก็บย้อนหลังกันไม่เกิน 30 วัน
มีคำถามสำหรับ กรณีเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ip address เดียว แต่ให้บริการกับผู้ใช้หลายคนใช้งานร่วมกัน ใครจะเดินเข้ามานั่งใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ใช้เสร็จหายอยากก็จากไป เราจะเก็บข้อมูลย้อนหลังว่ามีใครมาใช้งานบ้าง วันไหน เวลาใด -- สงสัยต้องทำระบบให้เป็นแบบ Internet Café และแน่นอนว่า ความยุ่งยากย่อมเกิดขึ้นกับ คนดูแล (แต่ก็ดีกว่าให้คนมานั่งเฝ้า และจดบันทึก) และที่สำคัญผู้ใช้งาน ย่อมต้องโดนหางเลขไปด้วย
หา Opensource เจอตัวหนึ่ง ชื่อ Cybera เป็น Windows based application เหมือนเดิมคือ ต้องนำมาลองใช้ดูครับ
หมายเหตุ: Cybera รองรับเฉพาะ Windows 2000 และ Windows XP Pro เท่านั้น
อ้างอิง: http://cybera.sourceforge.net