ไม่ได้อัพบล็อกหลายวัน เพราะชีวิตช่วงนี้ห่างๆ เทคโนโลยี ไปวุ่นวายอยู่กับเรื่องปากท้อง (ถ้าจำศีลได้คงจำศีลไปแล้วล่ะผม)

หลายวันก่อนอ่านบทความ องค์กรหัวกระทิ ของอาจารย์พอใจ พุกกะคุปต์ โดนใจและเห็นด้วยโดยเฉพาะข้อ 2 ของเดิม VS. ของใหม่ จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพียงแต่ลองนั่งนึกๆ ดู ไม่เฉพาะในสำนักงาน หรือบริษัท แม้แต่ในบ้านในครอบครัวเองก็เหมือนกัน ของแต่ละชิ้น โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีทั้งหลาย เราได้ใช้มันคุ้มค่าแล้วหรือยัง

หยุดคิดซักนิด ก่อนตัดสินใจซื้ออะไรใหม่ ประมาณว่า "เรามีของที่ใช้งานได้ใกล้เคียงกันอยู่แล้วบ้างหรือไม่?" -- ก่อนนี้ ผมเป็นบ่อย (แต่ทำได้ไม่บ่อย) คืออยากเปลี่ยน ด้วยเหตุที่ของใหม่มีฟีเจอร์ใหม่ๆ (บางครั้งซื้อมาแล้ว แทบไม่ได้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ซักเท่าไหร่เลย) โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดีวีดี กล้องถ่ายรูปดิจิตอล คอมพิวเตอร์

งานเขียนช่วยฉุกคิด: คิดยาก-คิดง่าย โดย วินทร์ เลียววาริณ

วันนี้ ขอฝากคำนี้ไว้คำหนึ่ง "คุณค่า" (value) ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "มูลค่า" (price)

 

ขออนุญาตคัดลอก (กลัวนานวัน จะหายไป) มาจากต้นฉบับ เอาเฉพาะ step-by-step แล้วกัน เพราะว่ามีคำถามฝากผ่านมาถึงผมว่า ทำอย่างไรจะลบร่องรอย คำที่เคยค้นหาใน Google ไว้ (ไม่รู้เป็นมิจฉาชีพ หรือทำอะไรผิดกฏหมายรึเปล่า)

Deleting search history from the Google home page search box

In Internet Explorer

The search history that displays in the search box on the Google homepage is stored by your browser, not by Google. You can clear the history or disable this feature entirely by following these steps:

  1. Go to the “Tools” menu
  2. Select “Internet Options”
  3. Select the “Content” tab
  4. Within the “Personal Information” area, select “AutoComplete”
    • To clear the current history, click on “Clear Forms”
    • To disable this feature entirely, uncheck the “Forms” box

You can also delete individual entries from your search history by using the Down arrow key to highlight a previous search and then pressing the Delete key.

In Firefox

As with Internet Explorer, you can also clear the search history or disable the feature in Firefox.

  1. Go to the “Tools” menu
  2. Select “Options”
  3. Select the “Privacy” tab
  4. Within the “Saved Form Information” area:
    • To clear the current history, click on “Clear”
    • To disable this feature entirely, uncheck the “Save information I enter in web page forms and the search bar”

Another way to very quickly clear the search history is to place your cursor in the search box, right click and select “clear search history.” This is faster for on-the-fly clearing.

You can also delete individual entries from your search history by using the Down arrow key to highlight a previous search and then pressing the Shift-Delete key.

Deleting search history from the Google Toolbar

The Google Toolbar for Internet Explorer also retains the search history if you let it. Clearing the current search history or disabling the feature in the browser does not affect the Google Toolbar. You have to do it in the Toolbar separately.

To completely disable your Toolbar’s search history

  1. Select the “Options” button on the Toolbar
  2. Un-check the box next to “Drop-down search history”

To simply clear the current search history:

  1. Click the Google logo to access the drop-down menu
  2. Select the “Clear Search History” option

Deleting search history from the Googlebar Firefox extension

The Google Toolbar has not yet been written for Firefox, but there is an extension called Googlebar that provides a similar function. It also retains the search history. The difference is that it does not automatically place everything in a drop down list for the user to see. But, it is there to view with the click of a check mark at the right of the search box.

To completely disable Googlebar’s search history:

  1. Click on the Googlebar logo at the left side of the bar
  2. Select “Googlebar Options”
  3. Select the Miscellaneous tab
  4. In the “Save History” section, uncheck “Preserve the search history across browser sessions”

To simply clear the current search history:

  1. Click the Googlebar logo
  2. Select the “Clear Search History” option


ที่มา: Google TUTOR

 

TCP/UDP Port

Posted In: , , , , , . By taladnam

ช่วงนี้กำลังเฝ้าดู Network Traffic ด้วย NetFlow อยู่ ได้ข้อมูลมา ก็ต้องหาแหล่งอ้างอิงด้วยว่า พวก TCP/UDP Port ที่ไม่ค่อยคุ้น มันคืออะไรกันบ้าง (เพราะพื้นเพของเรา มันเป็นคนชั้นต่ำ ไม่เกิน Layer 3) เป็นการใช้งาน Application ปกติ หรือเป็นพวกการโจมตี กระทำมิดี


เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมกำลังหาทาง Identify P2P Traffic จาก NetFlow ด้วย

 

MSN Postmaster

Posted In: , , , , . By taladnam

ทำตัวเป็น bookmark เพราะจดไว้ในนี้น่าจะหาง่ายกว่า (จริงๆ ก็จดไว้ใน ma.gnolia แล้ว แต่กลัวลืม)

MSN Postmaster

ที่ใช้อยู่แล้วก็เป็น Smart Network Data Services - เพื่อดูสถิติของ ip address ที่เราดูแลอยู่ ส่ง mail ไปยัง Windows Live Mail กับ Hotmail เป็น Spam/Junk มากน้อยเท่าไร

เพราะประสบปัญหาว่า mail server ตัวหนึ่งของเรา ส่ง mail ไปยัง Hotmail ไม่ได้ (ส่งไปแล้วเงียบหาย)

ที่มา: An E-mail deliverability story – MSN Hotmail and Bonded Sender

 

Weblog (Blog) กับตัวผมเอง

  • เขียน Blog ครั้งแรกที่ MBlog ประมาณว่าลองดูเล่นๆ สนุกๆ
  • สมัครที่แรก กับ Blogspot (ก่อน Google จะกินรวบ) แต่ก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้เลย กว่าปี
  • พยายามเขียนให้ต่อเนื่อง ที่ Bloggang แล้วก็หยุดไป (ตอนนั้น Bloggang ใช้ยาก สำหรับผม)
  • แต่เป็นเรื่องเป็นราวก็คือ ติดตั้งและทดลองใช้งานเอง โดยการเขียน Blog ภายในฝ่าย ที่บริษัท (จำได้ว่าตอนนั้นใช้ plog)

สุดท้ายกลับมาลงตัวอยู่ที่นี่ เพราะความง่าย และสามารถใช้ domain ของเราเองได้ด้วย

กลับจากงานสัมนาวันนี้ (เกี่ยวกับเรื่อง IX - Internet Exchange) มีคำถามกับตัวเองว่า Blog สัญชาติไทยอย่างเรา แม้แทบไม่มีใครอ่าน แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าพามันกลับบ้าน(ไทย) อย่างน้อยๆ ก็รับประกันได้ว่า ตัวเราเองไม่ได้สร้างต้นทุน International Bandwitdh โดยไม่จำเป็น -- ประเด็นของผมคือ มี Free Blog Provider ของไทยรายไหนบ้าง ที่ให้ผมได้ใกล้เคียงกับที่นี่

ลึกลงในรายละเอียดก็คือว่า ผ่านไปนานเป็นสิบๆ ปี สิ่งที่ผมคิด และบันทึกไว้ จะยังคงอยู่มั้ย -- แน่นอนว่า ณ วันนี้ ประเด็นนี้ผมมั่นใจ Blogspot ค่อนข้างมาก

Blog ของผมคงเป็นแค่เศษเสี้ยวของ International Bandwidth ดังกล่าว แต่ถ้าเศษเสี้ยวที่(น่าจะ)มีมากมายรวมๆ กันล่ะ ไม่ต้องพูดถึง Blog ยอดฮิตของบรรดา Gen X/Gen Y รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ บล๊อกเกอร์เจ๋งๆ ซึ่งมีแฟนคลับเยอะๆ ทั้งหลาย ถ้ากลับมาได้หมดคงจะดี

เรื่องนี้คงไม่ใช่การใหญ่ ที่ทำแล้วจะส่งผลกระทบชัดเจนทันตาเห็นนัก เพียงแค่ตระหนักของคนไทยตัวเล็กๆ คนหนึ่งเท่านั้น -- แต่บทสรุป ก็ยังบอกไม่ได้ว่าผมจะย้ายไปที่ไหน คงต้องใช้เวลา

 

Live Beyond Google

Posted In: , . By taladnam

สองสัปดาห์ก่อน routing ของอินเทอร์เน็ตเกตเวย์เกิดอาการ loop ทำให้ไม่สามารถใช้งานบางเว็บไซต์ปลายทางได้ ที่สำคัญ Google เป็นหนึ่งในนั้น พนักงานในองค์กรน่าจะหลายต่อหลายท่าน ติด loop ตัวเอง ไปต่อไม่เป็น หาข้อมูลบนเน็ตไม่ได้เลย -- ผมก็ตามหาสาเหตุเล็กน้อย ระหว่างรอการเยียวยา ก็หันหน้าไปหา Yahoo! แทนชั่วคราว (แต่ไม่วายกลับมาหา Google อยู่ดี)

รายการข้างล่างนี้ แค่รวบรวมจาก Web Worker Daily


คิดว่าหลายท่านคงมีอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ใช่ Google นะครับ

ที่มา: Live Beyond Google: Eight Great Alternative Search Engines