Domain Kiting

Posted In: , . By taladnam

อย่างที่บอกเมื่อครั้งก่อน ว่าแม้ไฮไลต์ในเชิงเทคนิคของผมเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นเรื่อง DNS แต่ก็เพียงแค่ผู้บริโภคเทคโนโลยี เรียนรู้เมื่อใช้ ปิ๊งแว๊บเมื่อเกิดปัญหาเท่านั้น คราวนี้ก็เช่นกัน คำว่า Domain Kiting เพิ่งผ่านตาจากรายงานข่าว
As of Feb. 11, Google Says It Will Block AdSense from Kited Domains ของ CircleID อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง

ผลการค้นหาคำ Domain Kiting จากบล็อกของ Bob Parsons CEO&Founder ของ GoDaddy ซึ่งเป็น Domain Name Registrar รายใหญ่ (ผมก็เป็นลูกค้าอยู่) ภาษาไทยสองวรรคข้างล่างนี้ เป็นใจความที่ผมสรุปเอง ถูกผิดยังไงแนะนำได้นะครับ (เพราะภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง)

Domain Kiting (ในความหมายของ Bob Parsons) เป็นวิธีการหาผลประโยชน์หรือรายได้โดย Registrar บางราย จาก(จะเรียกว่า)ช่องโหว่(ได้ไหมนะ)ของ การจดทะเบียนโดเมนเนม ซึ่งโดยปกติ Registrar เมื่อได้รับการขอจดทะเบียนโดเมนเนมใดๆ แล้ว ก็จะเปิดโดเมนเนมดังกล่าวใช้งานได้ และให้เวลา 5 วัน (grace period) หลังจากนั้น ถ้าไม่มีการชำระเงินจากผู้ขอจดทะเบียน ค่อยปลดโดเมนเนมนั้นๆ ออกจากระบบ Domain Name Registry ช่วงเวลา 5 วันนี้เอง คือโอกาสทอง ที่ Registrar ซึ่งกระทำการดังกล่าว แอบเอาโดเมนเนมไปหารายได้ ด้วยการสร้างเว็บไซต์ชั่วคราว แล้วแปะ ad คลิกไว้บนเว็บไซต์นั้น

Bob Parsons ได้ยกตัวอย่างของ DirectNIC ซึ่งเป็น Registrar รายหนึ่งว่า ในเดือนเมษายน ปี 2006 มีเพียง 51,400 โดเมน จากจำนวนที่ขอลงทะเบียนเข้ามาทั้งหมด 8 ล้าน 4 แสนโดเมนเนม เป็นของจริง (คือชำระเงินเข้ามา เพื่อขอจดทะเบียนจริง) ซึ่งอาการนี้เป็นมาในทำนองเดียวกันตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว คือ มีสัดส่วนเพียง 52,500 โดเมนจาก 7 ล้าน 6 แสนโดเมนเนม เท่านั้น

A Domain Kiting Primer.

In a nutshell, here's how domain kiting works.
Domain kiting registrars put up mini-Web sites — loaded with search engine links — for domains names for which they never pay. When people land on these Web sites and click on the links, money is made. It's easy to spot one of these registrars as the number of total registrations they make often far exceed the number of permanent registrations — or names for which they actually pay. This is why during the month of May 2006, out of 35 million registrations, only a little more than 2.7 million were permanent or actually purchased. The vast majority of the rest were part of the domain kiting scheme.

Now let's drill down a little further into domain kiting 101.
A registrar who participates in this scheme – Go Daddy and its affiliates do not participate in this scheme – makes a large deposit – sometimes a huge deposit – at a registry. Then the registrar registers as many domain names as the deposit will allow. For example, if the registrar makes a $600,000 deposit at VeriSign Registry, they could register 100,000 .COM domain names as .COM names cost $6.00 per year.

It's all about catching Internet traffic.
For each domain name registered, the domain kiting registrar puts up a simple Web site filled with search engine links and hopes users land on that page and click on the links. Anytime an Internet user lands on one of their mini-Web sites and clicks on one of the links, money is made.

Domain kiting registrars abuse the 5 day refund period to work their scheme.
After a domain name is registered, a registrar has five days to cancel a domain name registration – i.e. drop the name – and get their money back. Domain kiting registrars abuse this rule and cancel the lion’s share of the names they register just before the five day period expires – so they get their money back. But then something unexpected happens. After names are cancelled or dropped, the domain kiting registrar goes out and immediately registers the same names again. The domain kiting registrar will then put the same simple Web site back up for each domain name, wait another five days and then cancel all the names again — just in time to get a full refund. And for most names caught up in the domain kiting scheme, this process will repeat itself over and over and over.

Domain kiting registrars rarely pay for the names they use.
By not actually paying for the names they are using, domain kiting registrars are able to generate profits, even if their mini-Web sites only generate 50 cents or more per year. And if they find, over time, that certain names never generate any revenue they stop registering them altogether. It’s only the names that have value – to you as an Internet user – they register over and over and keep off the market – names for which they of course never pay.

Domain kiting registrars only purchase the names that prove to be real money makers.
There are those cases when, if a domain name proves to be especially profitable, domain kiting registrars will actually step up and register the name. They’re not stupid. They won’t take a chance on losing a name that generates much more than the annual cost of a registration. However, this is clearly the exception.


แต่ลักษณะแบบที่อธิบายข้างบน Wikipedia กลับใช้คำว่า Domain Tasting แล้วได้อธิบาย Domain Kiting ว่า

which is the process of deleting a domain name during the five-day grace period and immediately re-registering it for another five-day period. This process is repeated any number of times with the end result of having the domain registered without ever actually paying for it.

ท่านใดเชี่ยวชาญ(ทั้งเรื่อง Domain และภาษาอังกฤษ) แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

 

Oxford Internet Institute to hold Public Open Forum, What’s in a name? The History and Future of the Domain Name System on Monday 28 January 2008 16:00 - 18:00

ถึงวันนี้ Domain Name System (DNS) จะมีอายุครบ 25 ปีแล้ว (1983-2008) เบญจเพศพอดี สำหรับผม กับการทำงานกว่า 10 ปี ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต สาระทางเทคนิคที่เป็นไฮไลต์ ก็คือ DNS นี่แหละ กระทั่งทุกวันนี้ ยังขว้างงูไม่พ้นคออยู่เลย

ฉายาผมตอนเป็น engineer คือ dns master (ทำนองเดียวกันกับ postmaster มั้ง) -- ทั้งที่ความเป็นจริง ผมเป็นเพียงแค่ SysAdmin ของ Name Server เท่านั้น (แค่ผู้บริโภคเทคโนโลยี ไม่ใช่ผู้ผลิตคิดค้น)

ไม่ได้ตั้งใจมาประชาสัมพันธ์งานหรือข่าวนี้หรอกครับ เพียงแต่เห็นว่า คลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์ของงานบน YouTube นั้นน่าสนใจ (โดยเฉพาะคนที่มีเบื้องหลังการทำงานอย่างผม) มีคำถามน่าคิดจากในคลิป

"ถ้าไม่มี DNS อินเทอร์เน็ต จะเป็นอย่างไร ?"

ที่มา: CircleID

 

Why Debian?

Posted In: . By taladnam

บังเอิญเจอโพสต์ข้างล่างนี้ และคงเป็นเพราะผมก็ชอบ Debian ด้วยอีกคน เลยโดนใจ

Why do I love Debian?

แต่คำอธิบายมันใช้ได้กับทุกกรณี ไม่ว่าใครจะใช้ Linux Distro อะไร คำตอบก็คงไม่ต่างจากนี้มากนัก ยกเว้นพวกกูรู นักวิชาการ ซึ่งลองมาหมดแล้ว ทุกสายพันธุ์ เพื่อตามหาที่เหมาะสม สำหรับงานวิชาการของพวกเขา

แต่ถ้าเป็น พวกรอใช้ นำมาใช้ คงไม่หนีกันซักเท่าไหร่นักหรอก ก็คงไม่ต่างจากโทรศัพท์มือถือ ทำไมคนนี้ Nokia คนนั้น Sony แล้วอีกคนทำไม Samsung น่าจะเป็นเหตุผลทำนองเดียวกัน

สำหรับ Linux ทุกวันนี้ ถ้าเลือกได้ ผมก็ใช้ Debian แต่เฉพาะเป็น server เท่านั้นนะ ส่วน Desktop ไม่มีประสบการณ์มากนัก เคยใช้แค่ LinuxTLE (สายพันธุ์ Ubuntu ก็พี่น้องกันกับ Debian นั่นแหละ)

 

IPv6 Stuff

Posted In: . By taladnam

หาข้อมูล -- แนวทางการเปลี่ยนแปลงจาก IPv4 ไปสู่ IPv6 ในทุกแง่มุม ทั้ง Infrastructure, Connectivities (wired & wireless), Services, Applications, Home-Use, Devices และอื่นๆ จากประสบการณ์ของคนอื่น เพื่อ(อาจจะ)นำมาประยุกต์ใช้


.. keep being updated ..

 

สองวันก่อนได้ไฟล์ .mpp จากเพื่อนร่วมงานมา จะอ่านไฟล์ ms project ได้อย่างไร เพราะในเครื่องไม่ได้ลง MS Project ไว้ซะด้วย -- ก็หา Freeware/Open Source ยังไงละ มาดูกันว่ามีตัวไหนบ้าง

ผมใช้ LiveProject ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้ง .NET framework 2.0 ในเครื่องก่อนด้วย ส่วน Afinion Project-Viewer ยังไม่ได้ลอง เพราะถึงตอนนี้ยัง download ไม่ได้เลย

 

โดยพื้นเพเดิมทางเทคโนโลยี ผมเกิดมาจากการเป็น Networker คนหนึ่ง ทุกวันนี้ ลึกๆ ในใจก็ยังรักที่จะเรียนรู้ Networking Technology ทั้งๆ ที่ปัจจุบัน โดยตำแหน่งหน้าที่การงาน ธุระไม่ใช่ แถมงานที่รับผิดชอบก็ยังบริหารจัดการได้ไม่ดีเอาซะเลย (อนาคตยังรอแสงสว่างนำทางอยู่)

เช้านี้แวะเข้า CERT เพื่อจะอัพเดตข่าวสารด้านความปลอดภัย เผอิญมาสะดุดกับ
Network Situational Awareness (NetSA) เข้าให้ เพราะกำลังช่วยน้องๆ วิศวกรเครือข่าย มองหาเครื่องไม้เครื่องมือเกี่ยวกับ Internet working Traffic Engineering (ไม่รู้ว่าจะช่วยงาน หรือเพิ่มงาน)

เหมือนเดิมคือ จดไว้ก่อน เพราะมี Open Source Tools

Source code for the following tools is released under the GPL and LGPL licenses.

  • SiLK (System for Internet Level Knowledge)
    a collection of netflow tools that facilitates security analysis in large networks; enables analysts to rapidly query large sets of data traffic volumes
  • YAF (YAF Flow Sensor)
    a tool that processes packet data into bidirectional flow records that can be used as input to an IPFIX Collecting Process; the output can be used with the NetSA Aggregated Flow (NAF) toolchain and the SiLK tools
  • NAF (NetSA Aggregated Flow)
    tools that create and manipulate the IPFIX-based NAF file format, designed as a common format for aggregate network flow analysis
  • fixbuf
    a library that provides a set of functions for processing the IPFIX protocol message format; using fixbuf, developers can build IPFIX Collecting and Exporting Processes
  • RAVE (Retrospective Analysis and Visualization Engine)
    an extensible analysis middleware platform based on Python that simplifies the task of building analysis environments on top of a network monitoring and collection infrastructure
  • IPA
    a library that provides efficient data structures for manipulating labelings of IP addresses and IP address ranges

 

คนเก่งประสบการณ์เยอะๆ นี่เค้ามองขาด สามารถนำเสนอเรื่องที่ดูเหมือนจะเล็กๆ น้อยๆ (ที่หลายคนอาจคิดไม่ถึง) ออกมาเป็นประเด็นผลักดัน IPv6 ได้ดีทีเดียว -- ผมหมายถึงโพสต์นี้ ของ Yves Poppe


Yves Poppe ยกประเด็นพลังงานที่สูญเสียไป ในระบบที่เครื่องลูกข่ายใช้วิธีส่ง keepalive message ไปยังเครือข่าย เพื่อจะบอกว่าตัวเองยังคง active อยู่นะ (อย่า release session/channel การใช้งานของฉันล่ะ) ยกตัวอย่างเช่น การใช้งาน always-on application เช่น Instant Messaging, VoIP, Push e-mail หรือ location based services บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเครื่องลูกข่ายจะอยู่หลัง NAT จำเป็นต้องใช้วิธีการส่ง keepalive message เพื่อบอกว่า NAT state ของตัวเองยังคง active อยู่นะ

วิธีการข้างต้น ถึงแม้จะเปลี่ยนไปใช้ Shared/Pool Public IPv4 Address แทน NAT แต่ถ้าไม่ใช้ keepalive message ถ้าหยุดใช้งานเพียงชั่วครู่เล็กๆ routing ของเครื่องลูกข่ายก็จะหลุดจากเครือข่าย ต้องคอย request ขอใช้งานเข้าไปใหม่อยู่เรื่อยๆ -- Yves Poppe คงต้องการชูประเด็นว่า ถ้าใช้ IPv6 ซึ่งมีเพียงพอ เพื่อที่จะ dedicate ให้กับเครื่องลูกข่ายเป็นของใครของมันแบบ 1 ต่อ 1 ก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้ keepalive message เพื่อ keep routing ของตัวเองอีกต่อไป จะมีผลทำให้ลด keepalive message ก็ลดการใช้พลังงานได้

เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบขนาดใหญ่ -- มีการอ้างถึงรายงานของ Nokia ด้วยว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G สำหรับ keepalive message ที่ทุกๆ 20 วินาทีแล้ว จะกินกระแสเฉลี่ยที่ 34 มิลลิแอมป์ แต่ถ้าไม่มีการส่ง keepalive message ดังกล่าว กระแสจะอยู่ที่ 6.1 มิลลิแอมป์ เท่านั้น ซึ่งลิเธียมอิออนแบตเตอรี่ จะมีระดับแรงดัน 3.6 โวลต์ นั่นหมายถึงว่า การลด keepalive message จะช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 100.44 มิลลิวัตต์ -- สมมุติว่ามีโทรศัพท์ 3G อยู่ 3 พันล้านเครื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า ลองนึกดูว่าด้วยวิธีนี้ เราสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 300 เมกกะวัตต์ (ซึ่งเป็นส่วนที่สูญเสียไปเปล่าๆ กับการใช้ keepalive messages)

แต่ใน comment ก็มีประเด็นคำถาม ผลกระทบจากขนาดของ header ใน packet ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก size ของ IPv6 Address นั้นใหญ่กว่า IPv4

ที่มา: CircleID

 

อยู่ดีๆ เช้าวันนี้ Windows XP Professional บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านของผม ก็ boot ไม่ได้เอาซะดื้อๆ ทั้งที่เมื่อคืนนี้ ผบ.ทบ. ยัง online คุย MSN กับเพื่อนได้อยู่เลย มันขึ้นข้อความบนหน้าจอสีดำ ประมาณนี้ครับ

Windows could not start because the following file is missing
or corrupt:
\WINDOWS\SYSTEM32\CONFIG\SYSTEM

You can attempt to repair this file by starting Windows Setup
using the original Setup CD-ROM.
Select 'r' at the first screen to start repair.

สันนิษฐานสาเหตุว่า ผบ.ทบ. ผมคงโดนของจากเน็ตมาแน่เลย แต่ไม่ได้ถาม เพราะแกยังไม่ตื่น

เพิ่งเห็นเครื่องของน้องที่ทำงาน เป็นอาการเดียวกันเลยเมื่อวานนี้เอง แต่ก็ไม่ได้สนใจว่าน้องเขาแก้ไข ได้หรือไม่ได้ อย่างไร (กะว่าถ้าแก้ไม่ได้ จะโทรไปถาม)

  1. ลองพยายามทำตามคำแนะนำ โดย boot ด้วยแผ่น CD Install สุดท้ายตัดสินใจไม่ลง (แม้แต่จะลงทับ) เพราะเป็นห่วงข้อมูล
  2. boot ด้วยแผ่น BartPE ที่เคยทำไว้ แล้วเข้าไปดูให้สบายใจก่อน โอเค! ข้อมูลยังอยู่ครบดี โดยเฉพาะรูปถ่ายลูกคิด
  3. สรุปว่าเอาชัวร์ เข้าไปออฟฟิศหาข้อมูลต่อบนเน็ตดีกว่า เจอวิธีแก้ไขอยู่ที่ http://support.microsoft.com/kb/307545/en-us

หลังจาก boot ด้วยแผ่น BartPE แล้ว ผมเลือกทำกับเฉพาะไฟล์ system ไฟล์เดียวเท่านั้น ตามขั้นตอนข้างล่าง (ขอแปะไว้ที่นี่ เพราะกลัวต้นฉบับหายไปจากเน็ต) -- และเพราะการเลือก copy มาเฉพาะ system หรือเปล่าไม่แน่ใจ ทำให้หลังจาก boot Windows ได้แล้ว ผมยังต้องมานั่ง recover driver ของ PCI Bus เอง (งงว่าทำไม Plug-&-Play ไม่จัดการให้) เพื่อให้กลับมา online ได้ ทั้ง PPPoE และ Analog Modem

แต่ก็มีบางคนแนะนำว่า อย่า copy ไฟล์ software มาเลย (ถ้ามันไม่ได้มีปัญหา) เพราะจะทำให้ค่าต่างๆ ที่เรา setup ไว้ในโปรแกรมเพี้ยนไปหมด

md tmp
copy c:\windows\system32\config\system c:\windows\tmp\system.bak
copy c:\windows\system32\config\software c:\windows\tmp\software.bak
copy c:\windows\system32\config\sam c:\windows\tmp\sam.bak
copy c:\windows\system32\config\security c:\windows\tmp\security.bak
copy c:\windows\system32\config\default c:\windows\tmp\default.bak

delete c:\windows\system32\config\system
delete c:\windows\system32\config\software
delete c:\windows\system32\config\sam
delete c:\windows\system32\config\security
delete c:\windows\system32\config\default

copy c:\windows\repair\system c:\windows\system32\config\system
copy c:\windows\repair\software c:\windows\system32\config\software
copy c:\windows\repair\sam c:\windows\system32\config\sam
copy c:\windows\repair\security c:\windows\system32\config\security
copy c:\windows\repair\default c:\windows\system32\config\default


อ้อ! มารู้จาก ผบ.ทบ.ว่า เมื่อคืนนี้ปิด Power Switch ตอนที่เครื่องกำลัง Shutdown ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ นี่คงเป็นสาเหตุให้ไฟล์ c:\windows\system32\config\system เสียหาย

"ปัญหาคู่ปัญญา และการเรียนรู้"

 

OpenCARE

Posted In: . By taladnam

OpenCARE presentation in ISO/TC223 4th meeting

Description
This is a presentation about OpenCARE, the Alert and warning dissemination network for emergency collaboration among organizations. OpenCARE is a non-profit project initiates in Thailand soon after the Indian Ocean Tsunami tragedy. The purpose of this project is to expand the exchange of information for emergency or disaster management among the organizations that responsible for societal security and public safety. http://opencare.inet.co.th/forums/

Part 1 of 2:


Part 2 of 2:


ที่มา: YouTube ผ่าน NETC